รูปแบบตัวอักษร (font-family) logo on print
google fonts

จุฬาภรณ์ลิขิต

ฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิต คือ ฟอนต์ราชการตัวที่สิบสี่ ที่ คณะรัฐมนตรี ได้อนุมัติให้ฟอนต์พระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ.2564 ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับยอดอ่อนของดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis Princess Chulabhorn
Template | Source code | HTML | JavaScript | คำสำคัญ (Key) | Responsive | CanvasJS.com | Bootstrap | Github.io
ฟอนต์ จุฬาภรณ์ลิขิต อ่านข่าว พบว่า 6 ก.ค.2564 เวลา 14.45น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วในแฟนเพจ ศธ.360 องศา และ บล็อก พบรายละเอียดว่า ครม. อนุมัติฟอนต์พระราชทาน “จุฬาภรณ์ลิขิต” เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ.2564 ได้รับการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับยอดอ่อนของดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis Princess Chulabhorn เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณและรางวัลระดับนานาชาติ ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้รับอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
หมายเหตุ ส่วนฟอนต์มาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เช่น สารบรรณ ยังคงใช้ได้ตามปกติ เป็นทางเลือกให้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน
Chulabhorn_Likit.zip (1256 KB)
นักวิจัย "ม.วลัยลักษณ์" พัฒนาฟอนต์ไทย ประหยัดหมึก บข่าวเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีแนวคิดในการออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (Thai Eco font) เพื่อลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ได้เช่นเดิม ผลการพัฒนาประสบความสำเร็จ และได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้ฟอนต์ TH Sarabun อย่างแพร่หลาย จึงได้ออกแบบชุดตัวอักษรไทยที่ประหยัดพลังงาน ชื่อ Thai Eco font ด้วยการลดปริมาณพื้นที่ภายในตัวอักษร และพบว่าสามารถประหยัดหมึกพิมพ์ได้ร้อยละ 30 และคงความคมชัดไว้ได้ไม่แตกต่างจากเดิม โดยที่ผู้อ่านไม่สามารถสังเกตเห็นการลดลงของพื้นที่ภายใน ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดเท่ากับ 18 pt พร้อมจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและได้รับการตีพิมพ์ผลงานลงวารสารนานาชาติ Sustainability 2021 (Scopus Q1)
ด้านบน ใช้ฟอนต์ Thai Eco font - 18px ของ ม.วลัยลักษณ์ เปรียบเทียบกับ
ด้านล่าง ใช้ฟอนต์ TH Sarabun PSK - 18px
ส่วนข้อความนี้ใช้ฟอนต์ จุฬาภรณ์ลิขิต ที่ถูกนับเป็นฟอนต์ราชการตัวที่ 14
ชื่อบทความ : Analysis of Ink/Toner Savings of English and Thai Ecofonts for Sustainable Printing โดย Thanongsak Imjai , Chirawat Wattanapanich , Uhamard Madardam and Reyes Garcia
https://doi.org/10.3390/su13074070
Download : THSarabunPSK_Eco.ttf 550 KB
Download : THSarabunPSK 97 KB
บข่าวเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2564 ผศ.ดร.ทนงศักดิ์ อิ่มใจ ดร.ชิระวัฒน์ วัฒนพานิช และทีมนักวิจัยสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีแนวคิดในการออกแบบชุดตัวอักษรไทยประหยัดพลังงาน (Thai Eco font) เพื่อลดการใช้หมึกพิมพ์ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงความคมชัดของตัวอักษรไว้ได้เช่นเดิม ผลการพัฒนาประสบความสำเร็จ และได้เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยใช้ฟอนต์ TH Sarabun อย่างแพร่หลาย จึงได้ออกแบบชุดตัวอักษรไทยที่ประหยัดพลังงาน ชื่อ Thai Eco font ด้วยการลดปริมาณพื้นที่ภายในตัวอักษร และพบว่าสามารถประหยัดหมึกพิมพ์ได้ร้อยละ 30 และคงความคมชัดไว้ได้ไม่แตกต่างจากเดิม โดยที่ผู้อ่านไม่สามารถสังเกตเห็นการลดลงของพื้นที่ภายใน ที่ขนาดตัวอักษรสูงสุดเท่ากับ 18 pt พร้อมจดลิขสิทธิ์กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาและได้รับการตีพิมพ์ผลงานลงวารสารนานาชาติ Sustainability 2021 (Scopus Q1)
การติดตั้งฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิต ขั้นตอนการติดตั้งฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิต
1. ดาวน์โหลดฟอนต์จาก Chulabhorn_Likit.zip #
2. เปิด Windows explorer เลือกแฟ้มที่ดาวน์โหลดมาได้ แล้วสั่ง extract all หรือ unzip แฟ้ม Chulabhorn_Likit.zip จะพบ 2 ห้อง คือ __MACOSX เพื่อใช้บน iOS และ Chulabhorn_Likit เพื่อใช้บน Windows เมื่อเข้าไปในแต่ละห้องจะพบห้อง app, desktop, webfont
3. เลือกห้อง desktop ที่เก็บแฟ้ม จะพบแฟ้มสำคัญ 5 แฟ้ม ที่จะใช้สำหรับติดตั้ง คือ ChulabhornLikitText-Regular.otf ChulabhornLikitText-Medium.otf ChulabhornLikitText-Light.otf ChulabhornLikitText-Bold.otf ChulabhornLikitDisplay-Medium.otf พบว่าทุกแฟ้มมีขนาดประมาณ 73 KB
4. เราสามารถเลือกติดตั้งทุกแฟ้ม เพื่อให้สามารถเลือกใช้ฟอนต์ได้ทุกรูปแบบ หรือเลือกเพียงแฟ้มเดียว ถ้าใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะให้เข้าห้อง desktop แล้วเลือกแฟ้มที่จะติดตั้ง เช่น แฟ้ม ChulabhornLikitText-Regular.otf แสดงขนาดทั่วไป ส่วนแฟ้ม ChulabhornLikitText-Bold.otf แสดงขนาดตัวหนา
5. กด Right click บนแฟ้มที่เลือกไว้ แล้วสั่ง Install ทีละแฟ้ม หรือเลือกหลายแฟ้ม แล้วสั่ง Install พร้อมกันก็ได้
6. ตรวจสอบรายชื่อฟอนต์ที่ติดตั้งไปแล้วในห้อง fonts ด้วยการเปิดห้อง c:\windows\fonts ด้วย Windows Explorer หรือพิมพ์ fonts บน start, run หรือสั่งเปิดโปรแกรม explorer c:\windows\fonts บน DOS prompt ก็ได้ ที่ห้องนั้นเราสามารถเลือก delete fonts จากระบบได้โดยง่าย
7. ทดสอบใช้งานบน Word , Powerpoint หรือ Excel เลือกฟอนต์ Chulabhorn Likit Text ก็จะพบกับตัวอักษรที่สวยงาม มีไว้ใช้งานบนคอมพิวเตอร์อีก 1 ฟอนต์
ชุดแบบอักษรพระราชทาน 20px18px16px14px
ChulabhornLikit (จุฬาภรณ์ลิขิต)
ตัวอย่าง 13 ฟอนต์ราชการ
รูปแบบตัวอักษร ที่นิยมใช้ในหนังสือราชการไทย แต่เดิมใช้ Angsana New หรือ AngsanaUPC แต่รูปแบบทั้งสองใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการ Windows ถ้าใช้ในระบบปฏิบัติการ Linux หรือ Macintosh ก็จะไม่มีให้ใช้ รวมถึงการใช้งานกับซอฟท์แวร์ด้านกราฟฟิกก็มักมีปัญหาเกี่ยวกับฟอนต์ภาษาไทยที่ยังไม่มีมาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป มีนักพัฒนาจำนวนไม่น้อยออกแบบตัวอักษรภาษาไทยเพื่อจำหน่าย หรือแจกฟรี แต่เกิดความชัดเจนขึ้นในประเทศไทยเกี่ยวกับ ฟอนต์แห่งชาติ หรือฟอนต์มาตรฐานราชการไทย เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 # โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้หน่วยงานภาครัฐติดตั้งฟอนต์สารบรรณและฟอนต์อื่นทั้งหมดจำนวน 13 ฟอนต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สอซช.) (SIPA) ต่อจากนี้ไปคนไทยก็จะมีฟอนต์สำหรับจัดทำเอกสารราชการ เอกสารทางธุรกิจ เอกสารวิชาการที่ถูกยอมรับว่าเป็นฟอนต์แห่งชาติ คือ ฟอนต์ TH Salabun PSK ที่ใช้งานทั้งในระบบปฏิบัติการ Windows, Linux และ Macintosh ซึ่งเผยแพร่ให้ใช้ได้ฟรี ไม่ต้องพะวงว่าใครจะอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ เพราะผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญามาเรียบร้อยแล้ว และเชื่อได้ว่าผู้พัฒนาซอฟท์แวร์ในไทยจะมีการติดตั้งให้ฟอนต์เหล่านี้ให้เป็นมาตรฐานต่อไป ซึ่งผู้ใช้ที่ชอบฟอนต์ที่มีหัวมีหางยาวกว่าปกติก็มีฟอนต์ให้เลือก 3 รูปแบบ คือ TH Charmonman, TH Charm of AU และ TH Srisakdi ซึ่งชื่อฟอนต์ดังกล่าวแสดงถึงการให้เกียรติ ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ผู้เป็น บิดาแห่งอีเลิร์นนิ่งไทย ผลการทดสอบใช้ฟอนต์ทั้ง 13 ฟอนต์ พบว่า ใช้งานได้ทั้งในโปรแกรม Word, Powerpoint, Excel, Access และ Gimp สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับฟอนต์ภาษาไทยรูปแบบอื่น เมื่อนำแฟ้มเอกสาร แฟ้มกราฟฟิก หรือแฟ้มนำเสนองานที่ใช้ฟอนต์แห่งชาติไปใช้ในเครื่องที่ไม่มีฟอนต์นั้นติดตั้งอยู่ ก็พบว่าตัวอักษรยังเป็นภาษาไทยให้สามารถอ่านได้ปกติ เมื่อนำกลับมาใช้ในเครื่องเดิมก็แสดงผลได้สวยงามเช่นเดิม เมื่อค้นคำว่า “ฟอนต์แห่งชาติ” จาก google.com ก็พบคำอธิบาย และแฟ้มให้สามารถ ดาวน์โหลดมาติดตั้งได้ฟรี เมื่อค้นคำว่า “ฟอนต์ไทย” จาก youtube.com ก็พบวิดีโอสาธิตการติดตั้งฟอนต์ ซึ่งเชื่อได้ว่าการยอมรับไปใช้งาน การติดตั้งในซอฟท์แวร์ของหน่วยพัฒนาระบบ การเผยแพร่มติของ ครม. ได้มีการดำเนินการอยู่ในทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่ผู้เขียนทราบก็เพราะมีเพื่อนในส่วนราชการ เล่าให้ฟังว่า วันที่คนไทยมีฟอนต์มาตรฐานราชการไทยได้มาถึงแล้ว
13 ฟอนต์ราชการ 20px18px16px14px
1. TH Bai Jamjuree CP (ใบจามจุรี)
2. TH Chakra Petch (จักรเพชร)
3. TH Charm of AU (ชาร์ม ออฟ เอยู)
4. TH Charmonman (จามรมาน)
5. TH Fah Kwang (ฟ้ากว้าง)
6. TH K2D July8 (8 กรกฏา)
7. TH Kodchasan (คชสาร)
8. TH KoHo (กลุ่ม ก-ฮ)
9. TH Krub (ครับ)
10. TH Mali Grade 6 (ด.ญ. มะลิ ป.6)
11. TH Niramit AS (นิรมิตร)
12. TH Srisakdi (ศรีศักดิ์)
13. TH Sarabun PSK (สารบรรณ)
14. ChulabhornLikit (จุฬาภรณ์ลิขิต)
อ้างอิงจาก
f0nt.com/release/13-free-fonts-from-sipa/
wikipedia.org/wiki/National_fonts
thaiall.com/html5
12 Google Fonts
1. ฟอนต์ Itim (ไอติม)
– มีหัวกลม ตัวกลม โค้งมน คล้ายเขียน
2. ฟอนต์ Chonburi (ชลบุรี)
– ไม่มีหัว ตัวหนา เหมือนใช้ปากกาหัวแบน
3. ฟอนต์ Kanit (คณิต)
– ไม่มีหัว ทันสมัย อ่านง่าย น่าใช้
4. ฟอนต์ Prompt (พร้อม)
– ไม่มีหัว สะอาด โค้งกว่าคณิต คล้ายเขียน
5. ฟอนต์ Trirong (ไตรรงค์)
– มีหัว ผอมบาง ดูเป็นมาตรฐาน
6. ฟอนต์ Taviraj (ทวิราช)
– มีหัว อ้วนกว่าไตรรงค์
7. ฟอนต์ Mitr (มิตร)
– ไม่มีหัว ทันสมัย คล้ายคณิต หนากว่า
8. ฟอนต์ Athiti (อธิติ)
– ไม่มีหัว แบบบาง ดูโปร่ง คล้ายเขียน
9. ฟอนต์ Pridi (ปรีดี)
– มีหัว เป็นไทย อ้วนกว่าไตรรงค์
10. ฟอนต์ Maitree (ไมตรี)
– มีหัว มีเชิงชายมาก ผอมกว่าไตรรงค์
11. ฟอนต์ Pattaya (พัทยา)
– ไม่มีหัว ตัวเอียง หนา ทันสมัย
12. ฟอนต์ Sriracha (ศรีราชา)
– ไม่มีหัว เอียงสวย ลีลา คล้ายเขียน
i-makeweb.com/freebies/font-thai-free-google-fonts
designil.com/free-thai-fonts-google-web.html
ตัวอย่าง code สำหรับเรียกใช้ font
<link rel="stylesheet" href="https://fonts.googleapis.com/css?family=Itim|Chonburi" />
เปรียบเทียบฟอนต์
เซต 1. Line-height:normal; มีความสูงต่างกันตามแบบอักษร
เซต 2. Line-height:100%; มีความสูงเท่าขนาดที่กำหนด
เซต 3. Line-height:100%;letter-spacing:0.5em;font-family:TLWGTypewriter;font-size:20px;
abcdefgh
ijklmnop
ABCDEFGH
IJKLMNOP
01234567
กขฃคฅฆงจ
ฉชซฌญฎฏฐ
ฐฒณดตถทธ
นบปผฝพฟภ
เอแอโออา
เส้นกรอบข้อความ และ เอฟเฟ็กต์แบบเรืองแสง ารใช้โปรแกรม Powerpoint มาช่วยในการออกแบบ เพื่อใช้สร้างภาพปกของโปรไฟล์ในสื่อสังคม หรือ Featured image ของ Post ใน Wordpress เป็นต้น นอกจาก 1) รูปแบบอักษรที่โดดเด่น 2) สีตัวอักษรที่สะดุดตา 3) ภาพพื้นหลังที่สวยงามตรงปก 4) การเลือกใช้สีที่แยกความแตกต่างระหว่างข้อความกับภาพพื้นหลัง 5) เส้นกรอบของข้อความ ก็มีความสำคัญที่ทำให้ข้อความน่าอ่านยิ่งขึ้น ซึ่งภาพตัวอย่างนี้ แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่าง 1) เส้นกรอบข้อความ และ 2) เอฟเฟ็กต์แบบเรืองแสง ที่จะแสดงรอยหยัก กับ ไม่เห็นรอยหยัก ที่มีให้เลือกสำหรับการออกแบบ โดยการมีรอยหยักหรือรอยหยักน้อย ช่วยทำให้การปรากฎของข้อความมีความโดดเด่นขึ้นมา แต่ถ้าไม่เห็นรอยหยักเลย ก็จะทำให้ข้อความกับภาพพื้นหลังมีความกลมกลืนกันยิ่งขึ้น
- Shift + Tab เพื่อเปลี่ยน Select ไปยังข้อความ Object ใหม่
- กรณี save as เป็น .emf (Enhanced Windows Metafile) จะเห็นหยักที่รอยขอบได้ชัดมาก
- เส้นกรอบข้อความ (Border) จะเป็นแบบ Aliasing คือ รอยหยักที่ขอบภาพ
- เอฟเฟ็กต์ของข้อความ แบบเรืองแสง (Glow) จะเป็นแบบ Anti-Aliasing คือ ไม่มีรอยหยักที่ขอบภาพ
File : /office/font_glow.pptx เป็นแฟ้มต้นฉบับ
File : /fonts/font_glow.emf ขนาด 1105 KB มีรอยหยักชัดเจน (6000px*4500px)
File : /fonts/font_glow_emf_to_png.png ขนาด 269 KB มีรอยหยักชัดเจน (6000px*4500px)
File : /fonts/font_glow.jpg ขนาด 142 KB ไม่มีรอยหยัก (960px*720px)
การเรียกใช้ google font : kanit, mitr ในแฟ้ม html mitr Google font
1. แฟ้ม mitr.htm อยู่ใน local จะไม่เรียก font ไม่ได้ เพราะไปอ้างอิง Resource จากข้างนอก จะฟ้อง has been blocked by CORS policy
2. แฟ้ม mitr.htm นี้ สามารถเรียก kanit ในเครื่องของผมได้ เพราะติดตั้ง font ไว้ในระบบปฏิบัติการ แต่เปลี่ยนเครื่องจะไม่แสดง font เพราะไม่ได้ติดตั้งในเครื่องอื่น
3. เรียก kanit ใน thaiabc.wordpress.com แล้วเปิดที่เครื่องของผมได้ เพราะติดตั้ง font ไว้ แต่เปิดเครื่องอื่นจะไม่พบ
4. แฟ้ม mitr.htm วางใน thaiall.com แล้วเรียก font ในห้อง /google/fonts พบว่าใช้งานได้ปกติ
5. คำว่า CORS ย่อมาจาก Cross-Origin Resource Sharing เป็นประเด็นที่ป้องกันการเรียกใช้ทรัพยากรข้ามเครื่อง
- ทดสอบที่ thaiall.com/google/fonts/mitr.htm
- เปิด google.com/specimen/Mitr แล้วดาวน์โหลดแฟ้ม .zip แล้ว unzip แล้ว คลิ๊ก install fonts ได้
- เปิด google.com/specimen/Kanit แล้วดาวน์โหลดแฟ้ม .zip แล้ว unzip แล้ว คลิ๊ก install fonts ได้
ต.ย. ใช้ฟอนต์บน Powerpoint ทำ PR ntu application 2564 อนต์จุฬาภรณ์ลิขิต เป็นฟอนต์ที่สวยงามแบบเรียบง่าย มีความอ่อนช้อย มีหัวของตัวอักษรใหญ่ และคมชัดกว่าสิบสามฟอนต์ราชการ เมื่อเทียบกับขนาดที่เท่ากัน ซึ่งแสดงผลได้ชัดเจนทั้งบนเอกสาร และบนเว็บเพจ แล้วได้นำไปทดลองจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์หลักสูตร และเลือกฝังฟอนต์เข้าไปในเอกสาร โดยเลือกไฟล์, ตัวเลือก, บันทึก, ฝังฟอนต์ในไฟล์ มีผลให้เปิดแฟ้มผลงานในเครื่องใดก็ยังแสดงผลฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิตได้อย่างถูกต้อง ซึ่งต่อไปคาดว่า วารสารวิชาการ รายงานสืบเนื่องจากการประชุม จุลสาร หนังสือ สิ่งพิมพ์ และโปสเตอร์ จะให้ฟอนต์ราชาการตัวที่ 14 นี้เป็นทางเลือกแรก หรือเป็นฟอนต์มาตรฐานที่ถูกกำหนดให้ใช้อย่างแพร่หลายในอนาคต ด้วยความโดดเด่นตามที่พบในผลการทดลองใช้งาน
ตัวอย่างฟอนต์ DBAdmanX อนต์แบบ DBAdmanX ออกแบบโดย fontke.com เป็นฟอนต์ที่สวยอีกฟอนต์หนึ่ง ซึ่งโฮมเพจหน้านี้ จัดทำขึ้นตั้งแต่ 25 ก.ค.54 เพื่อทดสอบการใช้ฟอนต์นี้ ต่อมา 7 ก.ค.64 ต้องการใช้พื้นที่นี้ เพื่อเล่าเรื่องฟอนต์แบบต่าง ๆ โดยเฉพาะฟอนต์ราชการอันดับที่ 14 จึงเข้ามายึดพื้นที่นี้ แต่ก็สำรอง fieldset กล่องหนึ่งไว้บอกเล่าว่าก่อนหน้านี้ เคยมีเรื่องราวเกี่ยวกับ DBAdmanX เป็นเจ้าถิ่นอยู่ที่นี่ มาดูการเปรียบเทียบขนาดของฟอนต์นี้กันครับ
หกสิบ 60 สี่สิบ 40 สามสิบ 30
ยี่สิบสี่ 24 ยี่สิบ 20 สิบหก 16 สิบสอง 12
Download ที่นี่
การใช้งาน font จาก CDN สืบค้นเรื่องฟอนต์ พบว่า lazywasabi.net ให้บริการฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิต และอีกหลายฟอนต์ เช่น Anakotmai, Anuphan, Droid Sans Thai, Kinnari, Loma, Noto Sans Thai, Sarabun, Umpush ผ่านบริการ CDN ที่เค้าตั้งขึ้นมาใช้งาน และเปิดให้ผู้พัฒนาโฮมเพจได้เรียกใช้ได้ด้วย บริการนี้ทำให้นักพัฒนาไม่จำเป็นต้องติดตั้งฟอนต์ไว้ในเครื่องบริการของตนเอง การใช้งานฟอนต์ จุฬาภรณ์ลิขิต คล้ายกับ google fonts ซึ่ง code ของผมที่ใช้งาน CDN ของ lazywasabi.net คือ open source : adminlte357.php เมื่อเข้าไปดูเนื้อหาของผู้ให้บริการ CDN พบว่า ! lazywasabi.com มีเรื่องราวในปี 2021 - 2022 ให้น่าติดตาม
ตัวอย่าง code
<link rel="stylesheet" href="https://fonts.googleapis.com/css?family=Kanit:300,400,400i,700">
<link rel="stylesheet" href="https://cdn.lazywasabi.net/fonts/ChulabhornLikit/ChulabhornLikitText.css" >
<style>body {font-family:'Chulabhorn Likit Text';}</style>
เมื่อเข้าไปดูภายในแฟ้ม ChulabhornLikitText.css พบ code ดังนี้
@font-face {
  font-family: 'Chulabhorn Likit Text';
  src:
    url('https://cdn.lazywasabi.net/fonts/ChulabhornLikit/ChulabhornLikitText-Regular.woff2')
    format('woff2'),
    url('https://cdn.lazywasabi.net/fonts/ChulabhornLikit/ChulabhornLikitText-Regular.woff')
    format('woff');
  font-style: normal; font-weight: normal; font-display: swap;
}
@font-face {
  font-family: 'Chulabhorn Likit Text';
  src:
    url('https://cdn.lazywasabi.net/fonts/ChulabhornLikit/ChulabhornLikitText-Bold.woff2')
    format('woff2'),
    url('https://cdn.lazywasabi.net/fonts/ChulabhornLikit/ChulabhornLikitText-Bold.woff')
    format('woff');
  font-style: normal; font-weight: bold; font-display: swap;
}
การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (1/2)
ารทดสอบแปลงแฟ้ม pdf ภาษาไทยเป็น word โดยใช้แฟ้มต้นฉบับที่สร้างจากทั้ง Word 2010 และ 2019 ให้ผลไม่ต่างกันมาก พบว่า pdf2doc.com , pdfcandy.com , google docs ให้ผลลัพธ์ดี มีความสมบูรณ์ประมาณ 80% ซึ่งใกล้เคียงกันกับแฟ้มที่สร้างด้วยโปรแกรม pdfcreator หรือ save as หรือ microsoft print โดยผลลัพธ์จาก 3 บริการข้างต้น ให้ผลดีกว่า adobe online, ilovepdf, pdftoword และ smallpdf สำหรับผลงานที่สร้างจาก Word ประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) การใช้ google docs มีปัญหา error convertion กับการแปลงแฟ้ม pdf ที่สร้างมาจาก pdfcreator 2) ฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิตนั้น มีเพียง pdf2doc.com ที่อ่านแฟ้มที่ีได้จาก pdfcreator มาเป็นตัวอักษร ส่วนต้นฉบับที่ได้จาก save as จะเห็นฟอนต์นี้เป็นวัตถุที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวอักษรได้ตามปกติ
บว่าบางบริการจำกัดจำนวนการใช้งานฟรี 1 ครั้ง สามารถเปิด browser โปรแกรมตัวใหม่ หรือ Clear history ก่อนใช้รอบต่อไป หรือใช้โหมดไม่ระบุตัวตน (incognito) ปิดแล้วเปิดใหม่ จะใช้งานฟรีรอบใหม่ได้ แต่การปิดเปิด browser ใหม่นั้นเว็บไซต์ยังตรวจพบอยู่และถูกจำกัดการใช้งาน จนกว่าจะสมัครสมาชิก จึงต้องเลือกแบบที่จำไม่ได้ ล้างสิ่งที่จำ หรือเลือกใช้แบบไม่จำสถานะเดิม
adobe.com (1 ฟรี)
drive.google.com (ฟรี)
ilovepdf.com (ฟรี)
pdf2doc.com (ฟรี)
pdfcandy.com (1 ฟรี)
pdftoword.com (ฟรีในอีเมล)
smallpdf.com (1 ฟรี)
เปรียบเทียบผลของ smallpdf.com และ google docs
Smallpdf.com : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ส่วน Chulabhorn Likit Lite เป็นแบบ 3) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 70% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ 1) Normal และ 2) Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี สุดท้าย คือ pdfcreator ที่เกือบทุกแบบยอมรับได้ไม่ถึง 50%
Google docs : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้ 90-100% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-90% สำหรับรูปแบบที่เหลือ รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% แบบย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 70-80% แบบตาราง คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-60% สำหรับรูปแบบที่เหลือ สุดท้าย คือ pdfcreator ระดับการแปลงเท่ากับ 0 %
การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (2/2)
ารทดสอบแปลงแฟ้ม word เป็น pdf แล้วแปลงจาก pdf กลับไปเป็น word ในทันที โดยแฟ้ม pdf นี้สร้างขึ้นมาจาก word มี 3 วิธี ใช้ office 2 รุ่น แล้วแปลงด้วยเครื่องมือแบบออนไลน์ 7 เครื่องมือ พบว่า รูปแบบตัวอักษรเป็นปัจจัยสำคัญ ที่จะทำให้ผลการแปลงยอมรับได้ตั้งแต่ 50-90% แต่ไม่มีวิธีใดยอมรับได้ถึง 100% แต่วิธีที่ 8 ที่ทำให้ผลการแปลงยอมรับได้เกือบ 100% คือ การแปลงจาก pdf เป็นภาพแบบ png ก่อน ตัวอย่างนี้ใช้บริการของ pdf2png.com แล้วส่งเข้า google drive แล้วเลือก open with : google docs จะได้แฟ้ม .docx ที่แสดงการเปรียบเทียบต้นฉบับกับผลการแปลง (convert) เป็นตัวอักษรที่อยู่ในแฟ้มเดียวกัน ซึ่งในแฟ้มตัวอย่างมีข้อความว่า "ที่นี่มีดำจำนวนน้อยฤดูนี้ที่มีน้ำผึ้งใส่ไหให้ไวขึ้นนะ" และมีผลงาน 3 หน้า แยกแสดงเป็นตัวอย่างตามลิงค์ด้านล่างนี้
ขั้นตอนการแปลงจาก pdf เป็น word
1. ส่ง pdf ไปแปลงเป็น png ที่ pdf2png.com จะได้ภาพ png เท่าจำนวนหน้าในแฟ้ม pdf
2. แตกแฟ้ม .zip จะได้ภาพ .png แล้ว upload ภาพไปยัง google drive
3. คลิ๊กขวาบนแฟ้มภาพใน google drive แล้วเลือก open with : google docs
4. ในหน้าต่างจะแสดงข้อความที่ถูกแปลงใน google docs และได้แฟ้มชื่อเดียวกับแฟ้มภาพ คู่กัน
5. คลิ๊กขวา : Download เพื่อนำแฟ้มไปใช้งาน แก้ไข หรือส่งต่อได้
สรุปว่า การ convert เป็นตัวอักษร สำเร็จได้เกือบ 100% แต่รูปแบบตารางเสียทั้งหมด ต้องจัด format ใหม่
doc2pdf19_pdfcreator-1.docx
doc2pdf19_pdfcreator-2.docx
doc2pdf19_pdfcreator-3.docx
Thaiall.com